ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,185 ผู้ชมทั้งหมด :41,800,588 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :7,731

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ตะกรุดแม่ทัพ ครูบาจันต๊ะ วัดหนองช้างคืน จ.ลำพูน หายากมากๆจะเป็นตำนานในไม่ช้า
ราคา :
ถามแดนครับ
รายละเอียด :
ตะกรุดแม่ทัพ ครูบาจันต๊ะ วัดหนองช้างคืน จ.ลำพูน หายากมากๆจะเป็นตำนานในไม่ช้า สร้างตามแบบตำราโบราณ จากครูบาอาจารย์ของท่าน ที่สืบทอดกันมา แผ่นยันต์ในตะกรุด ครูบาท่านลงคาถารวมทั้งหมดลงในแผ่นยันต์ กันทุกด้าน เมตตามหานิยม คงกระพัน แคล้วคลาด คับ เส้นนี้ ยุคต้น แท้ดูง่ายคับ
เครดิต ...ต้น ไม้มงคล
พระอธิการจันต๊ะ อนาวิโล นามเดิม จันต๊ะ เทพวรรณ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับเดือน ๖ เหนือ แรม ๖ ค่ำ ปีฉลู
บิดาชื่อนายเทพ เทพวรรณ
มารดาชื่อนางปัน เทพวรรณ มีอาชีพทำนา
พระอธิการจันต๊ะ อนาวิโล (ครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ) หรือเด็กชายจันต๊ะ เทพวรรณ เมื่อเยาว์วัยได้เข้ามาเป็นศิษย์วัดหนองช้างคืน เพื่อเล่าเรียนอ่านเขียนอักษรล้านนาและสูตรต่างๆ จากครูบาอาจารย์หลายท่าน เมื่อเด็กชายจันต๊ะ เทพวรรณ อายุได้ ๑๒ ปี ก็ได้บรรพชา ณ วัดหนองช้างคืนเมื่อท่านบวชบรรพชาเป็นสามเณรนั้น ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนวิชาจาก ครูบาอาจารย์หลายท่าน ทำให้สามเณรจันต๊ะ อนาวิโล มีความรู้สามารถอ่านเขียนอักขระภาษาล้านนาได้เป็นอย่างดี เมื่อสามเณรจันต๊ะ อนาวิโล มีอายุครบ ๒๐ ปี ก็ได้อุปสมบท ณ วัดหนองช้างคืน
การเริ่มศึกษาวิชา
1. เรียนอักษรล้านนากับครูบาเสาร์ ปัญฺโญ ถือได้ว่าเป็นอาจารย์คนแรกของครูบาจันต๊ะ อนาวิโล
2. เริ่มเรียนการสร้างตะกรุดใบลานชุบรัก กับครูบาธรรมชัย ธัมฺมชโย วัดประตูป่า อ.เมือง จังหวัดลำพูน ครูบาธรรมชัยถือได้ว่าเป็นเกจิยุคเดียวกันกับครูบาศรีวิชัยวัดบ้านบาง สมยาของท่านคือ “ครุบาหนังเหนียว”
3. ครูบา ครูบาก่ำวัดน้ำโจ้ (คำปัน นันฺทโก) ครูบาจันต๊ะ ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ได้ขอเรียนวิชาเสกครั่งเพื่อนำมาหุ่มตะกรุด
4. พระครูอินทราช (ครูบาจันต๊ะ จันฺโท)วัดหัวฝาย ต.หนองช้างคืน อ.เมือง จ.ลำพูน ท่านครูบาจันต๊ะ อนาวิโล ได้เข้ามาขอศึกษาเรียนวิชาการทำเทียน แก้ดวงเสริมราศี ต่อมาภายหลังได้นำวิชาทำเทียนมารวมกับทำตะกรุด เพื่อให้ตะกรุดของท่านมีอานุภาพในเรื่องแคล้วคลาด มากขึ้น
5. ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล (วัดวังมุย) เป็นศิษย์ผู้พี่เพราะเรียนวิชากับครูบาก่ำ วัดน้ำโจ้มาด้วยกัน ได้ศึกษาวิชาการเสกหนังควายมาทำตะกรุด
6. พระครูสุวรรณสารพิศิษฎ์ (หลวงพ่อสนิท อภิวฑฺฒโน) วัดช่างฆ้อง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสหายที่สนิทกัน แต่ครูบาจันต๊ะ อนาวิโลได้มาขอวิชาเมตตามหานิยมจากหลวงพ่อสนิท วิชาที่ได้ร่ำเรียนไปเรียกว่าวิชา “นะทวนทอง” เพื่อนำไปเสกตะกรุดของท่านให้ดีในเรื่องเมตตามหานิยม
7. พระครูพิศิษฏ์สังฆการ (ครูบาผัด ผุสฺสิตธัมฺโม) วัดศรีดอนมูล จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าเป็นสหายที่สนิทกัน ได้เดินทางมาขอเรียนวิชาตะกรุดสะท้อนกลับ (ก๋าสะต๊อน)
8. พระครูถาวรอายุวัฒก์ (ครูบาสิงห์แก้ว) วัดป่าขาม อ.เมือง จ.ลำพูนได้มาขอศึกษาวิชาการถักเชือกหุ้มตะกรุด และเรียนวิชาการตีแผ่นโลหะเพื่อนำไปม้วนเป็นตะกรุด
9. ครูบาบุญปั๋น ธมฺมปญฺโญ วัดร้องขุ้ม อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ นับถือกันเป็นผู้พี่อย่างมาก เดินทางมาสนทนาธรรม
10. พระครูรัตนสารคุณ(ครูบาอินแก้ว จิตฺตทันฺโต สิทธิวงศ์)วัดสันลิดไม้ ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เป็นเกจิอาจารย์ท่านสุดท้ายที่ครูบาจันต๊ะเดินทางมาศึกษาวิชา วิชา
ที่มาขอเรียนนั้นคือการทำตะกรุดคาดเอวครอบจักรวาล ถือได้ว่าเป็นการรวบรวมเอาทุกวิชาทุกสำนักที่ได้เดินทางไปร่ำเรียน นำมารวบรวมเข้าด้วยกันให้เป็นตะกรุดคาดเอว
มรณภาพ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ณ วัดหนองช้างคืน เวลา ๑๒.๔๕ น.รวมสิริอายุของท่านได้ ๗๖ ปี ๕๖ พรรษา
ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
080-1259886
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด