ส่วนหัวต้อนรับ
ร้าน เฮียไจ้
ร้าน
ส่วนท้ายต้อนรับ
ส่วนหัวของกรอบข่าวประชาสัมพันธ์
ค้นหาสินค้า :
ปฐมกำเนิดของพระไชยวัฒน์(ชัยวัฒน์)

 

ปฐมกำเนิดของพระไชยวัฒน์(ชัยวัฒน์)

                           พระชัยวัฒน์ (พระไชยวัฒน์)  ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่า มีการเริ่มสร้างพระชัยวัฒน์ มาตั้งแต่ยุคสมัยใด  แต่เท่าที่ปรากฎมีบันทึกไว้เก่าแก่ที่สุดคือ  ในสมัย แผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  แห่งกรุงอโยธยาศรีรามเทพนคร เมื่อราว 430ปี ล่วงมาแล้ว ในยุคนั้นจะมีการอันเชิญพระชัยขึ้น ไปประดิษฐานไว้ทั้งบนเรือ และหลังช้าง  เพื่ออัญเชิญไปกับกองทัพหลวงในการเสด็จพระราชสงครามชองพระเจ้าแผ่นดิน หรือการพระราชพิธีมงคลสำคัญอื่น  และมีการสร้าง พระชัยวัฒน์พระจำ องค์พระมหากษัตริย์ ทุกพระองค์สืบมา เพื่อใช้ทั้งในการเสด็จงานพระราชสงคราม และงานพระราชพิธีสำคัญเช่น ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก     สำหรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล  นั้น พระชัยวัฒน์ประจำรัชกาลหล่อด้วยเงิน หน้าตัก ขนาด 4 นิ้ว จะเห็นได้ว่า พระชัยวัฒน์ นั้นตามธรรมเนียมโบราณก็คือ พระบูชาประจำพระองค์ ของพระมหากษัตริย์ และแม่ทัพนั้นเอง เพื่อจะได้ใช้ อัญเชิญไปได้โดยสะดวกจึงมักสร้าง เป็นพระโลหะขนาดหน้าตักประมาณ ๓- ๕ นิ้ว

                           แต่สำหรับพระชัยวัฒน์ที่ เป็นที่เข้าใจ และเรียกกันในปัจจุบันนั้น  ตามหลักฐานเอกสารที่ปรากฎ ที่เก่าที่สุด นั้นถูกบันทึกไว้ใน ราชกิจานุเบกษา เล่มที่ ๔ หน้าที่๑๘๑ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน  พ.ศ. ๒๔๓๐ ว่า พระไชยวัฒน์นั้น ได้ เริ่มแรก สร้างในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) เพื่อพระราชทานให้แก่ พระราชโอรสที่จะเสด็จไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ในทวีปยุโรป เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘ ในยุคนั้นเรียกว่า " พระไชยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก "  สร้างคราวแรกจำนวน ๕๐ องค์  หล่อด้วยทองคำ หนัก ๑ เฟื้อง โดยเริ่มพระราชพิธี  เมื่อวันเสาร์  เดือนแปด ขึ้น ๙ ค่ำ ปีรกา สัปตศก  (พ.ศ. ๒๔๒๘)หลังจากสวดมนต์ ครบ ๓ วันจึงเริ่มเททองหล่อพระ ใน วันอังคาร เดือนแปด ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปี รกาสัปตศก  และโปรดให้สร้างตลับเป็นรูปดวงตราปทุม อุณาโลม ตรงกลางเป็นแก้วเปล่า  และมีสายสร้อยสำหรับสวมคอด้วย

                            สำหรับพระเจ้าลูกเธอที่ทรงได้รับพระราชทาน ๔ พระองค์แรกคือ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์, พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ , พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม , พระองค์จิรประวัตวรเดช  ก่อนที่จะเสด็จเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘  ซึ่ง ได้มีการสร้าง พระไชยวัฒน์ทองคำองค์เล็กอีกครั้ง เป็นครั้งที่ ๒ เริ่มการพระราชพิธีในวันที่ ๑๙ สิงหาคม  ร.ศ. ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๗) ในคราวนั้นพระพิธีคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส  สถานที่คือ พระอุโบสถ วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ (โรงหล่อนำ)  ในคราวที่ สองนี้ มีการหล่อพระไชยวัฒน์องค์เล็ก จำนวน เพียง ๒๕ องค์  นอกจากนี้มีการหล่อ พระไชยเนาวโลหะองค์ใหญ่ ๑ องค์ , พระไชยเนาวโลหะองค์เล็ก ๑ องค์ และ พระพุทธรูปประจำพระชนม์พรรษาอีก ๑ องค์  ในวันที่ ๒๓ สิงหาคม  ร.ศ. ๑๑๒  รวมจำนวนพระไชยวัฒน์ ที่หล่อทั้งสอง คราว  เป็นจำนวน ทั้งสิ้น เพียง ๗๕ องค์   นอกจากนี้แล้วมีการหล่ออีกบ้าง แต่จำนวนน้อยมากๆ ไม่กี่องค์เท่านั้น

                             ในสมัยนั้น ก่อนที่พระองค์จะทรงพระราชทาน พระชัยวัฒน์ พระองค์จะทรงมี พระบรมราโชวาท เป็น ๓ ข้อความ คือ ๑. ผู้ที่จะได้รับพระราชทานนี้ ต้องเป็นผู้มีความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาโดยมั่นคง ๒. เป็นผู้มีความรักใคร่ต่อบ้านเมืองและวงศ์ตระกูลของตน     ๓.เป็นผู้มีความกตัญญูซื่อสัตย์จงรักภักดี ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  จากนั้นแล้ว จึงทรงพระราชทาน สิ่งสำคัญนี้เป็นที่รฤกบูชา แล้วให้ปฎิบัติตน ตาม ๓ ประการดังกล่าว แล้วจะมีความเจริญศิริสวัสดิ  เป็นผลสำเร็จซึ่งศุขประโยชน์ทุกเมื่อ.............. พระชัยวัฒน์ชุดนี้ นักสะสมเรียกกันว่า " พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์"

                                    หากจะไล่เรียงลำดับในการสร้าง พระชัยวัฒน์ ที่เป็น สุดยอดนิยมในปัจจุบันเป็นดังนี้คือ

1.พระชัยวัฒน์ห่มคลุม (พระไชยห่มคลุม)  สร้างโดย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์  ไม่ปรากฎปีที่สร้างแน่ชัด แต่ว่ากันว่าสร้างหลัง กริ่งปวเรศไม่นาน ส่วนกริ่งปวเรศตามข้อสัณนิษฐาน อาจสร้างในราวปี พ.ศ. ๒๔๑๖ เมื่อคราวทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ซึ่งในปีเดียวกันนี้ ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิศริยยศเป็น    พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์   ซึ่งมีสมณศักดิ์สูงสุด เท่ากับทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช  ในตอนนั้นพระองค์มีอายุ ๖๔พรรษา (สิ้นพระชนม์ ๘๓ พรรษา) ลักษณะพระชัยวัฒน์ ห่มจีวรคลุม ตามแบบพระสงฆ์สายธรรมยุต  จีวรริ้ว  หรืออย่างช้าคือ สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ (ร.ศ. ๑๑๐) ในคราวงาน "พิธีมหาสมณุตตมาภิเศก"

2.พระชัยวัตน์มงคลวราภรณ์  สร้างตามพระบรมราชโองการ ของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมี พระเจ้าพิธีคือ   พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๘  จำนวน ๕๐ องค์  และ ปี พ.ศ.๒๔๓๗  จำนวน ๒๕ องค์  จากคราวอื่นๆ ที่มีบันทึกไว้ อีก ๔ องค์ ตามเอกสาร มีทั้งหมด  ๗๙ องค์

เป็นเนื้อทองคำหนัก  ๑ เฟื้อง หรือ มากกว่าเล็กน้อย โดยวิธีการเททองหล่อ ขึ้นมา

3.พระชัยวัฒน์นิรันตราย  สร้างโดย  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส  ในราวปี พ.ศ. ๒๔๓๔ - พ.ศ. ๒๔๔๓

4.พระชัยวัฒน์ สิงหเสนีย์  สร้างโดยท่านเจ้ามา  วัดสามปลื้ม  ในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๓

5.พระชัยวัฒน์เขมรน้อย  สร้างโดย พระพรหมมุนี (สมเด็จสังฆราชแพ ) วัด สุทัศน์เทพวราราม ราวปี พ.ศ. ๒๔๕๖- พ.ศ. ๒๔๕๘) จำนวนประมาณ ๕๐ องค์ 

วันที่ประกาศ : 7 กันยายน 2555
ส่วนท้ายกรอบข่าวประชาสัมพันธ์