ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,188 ผู้ชมทั้งหมด :41,551,833 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :1,900

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
@@@ พรหมสี่หน้า หลวงปู่สี วัดสะแก อยุธยา @@@
ราคา :
มาใหม่
รายละเอียด :

 

@@@ พรหมสี่หน้า หลวงปู่สี วัดสะแก อยุธยา @@@

(พิมพ์ข้าวหลามตัด รุ่น2 หน้าใหญ่ เนื้อเงิน ข้างไข่ปลา ตอกโค๊ต "ส" ที่ขอบเหรียญ จารเน้นๆ สุดมันส์!!!)

สภาพสวยแชมป์ๆ วรรณะผิวเงิน ประกายแสงทอง!!!

...รุ่น ส.เสวี หน้าใหญ่..เนื้อเงิน สร้างประมาณ 200เหรียญ..หลวงปู่ศรี(สีห์) จารอักขระ เน้นๆ ชัดๆ ด้านหลังเหรียญ..ชั่วโมงนี้ พิมพ์หน้าเล็ก หายาก แล้ว ครับ...
ถ้าเป็นสายพรหมต้องยกให้ทางสายวัดสะแก เป็นอันดับต้นๆของเมืองไทย

เพราะเริ่มสร้างมาในสมัย ท่านอาจารย์เฮง ไพรยวัล และหลวงปุ่ศรี(สีห์) ในยุคหลวงปู่ดู่ก็ยังมีการสร้างอีก ซึ่งถือได้ว่าสืบทอดต่อวิชากันมาเหรียญรัศมีพรหม หลวงปู่ศรี(สีห์) วัดสะแก อยุธยา รุ่น ส.เสวี หน้าใหญ่ตอกโค้ดตัว "ส"ที่ข้างขอบเหรียญด้านขวามือ สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.2523 จำนวนการสร้างหลักร้อยต้นๆเท่านนั้น

สภาพสวยเดิม ด้านหลังจารลายมือหลวงปู่ศรี(สีห์)จารเต็มๆซึ่งหาได้ไม่ง่ายนักที่จะมีรอยจารมากขนาดนี้ในเหรียญรัศมีพรหมรุ่นนี้ส่วนมากจะจารน้อยหรืเป็นกลุ่มๆไม่ค่อยกระจายแบบนี้ครับ

รอยจารด้านหลังนี้หลวงปู่สีห์ท่านมองไม่ค่อยเห็นแล้วลักษณะรอยจาร บางคราวพบที่จารเอียงไปที่ขอบด้านใดด้านหนึ่ง หลวงปู่สีห์ท่านได้แลกเปลี่ยนวิชาการสร้าง และเสกพรหมกับท่านอาจารย์เฮง ซึ่งได้ลอยเรือมาอยู่ที่ท่าน้ำวัดสะแก เหรียญพรหมของอาจารย์เฮงนั้นแทบทุกเหรียญจารโดยหลวงปู่สีห์ ซึ่งถือเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เหรียญพรหมของสายวัดสะแกนี้ขึ้นชื่อเรื่องพุทธคุณครอบจักรวาล ในยุคท้ายๆหลวงปู่สีห์ท่านขึ้นชื่อด้านการเสกให้เน้นเมตตา ค้าขายคล่องครับ

*****ประวัติ และ วัตถุมงคล ลป.สีห์ วัดสะแก ครับ*****

ลป.สี วัดสะแก อ.อุทัย จ.อยุธยา ท่านอยู่ในวัดสะแก ในฐานะพระลูกวัดธรรมดารูปหนึ่ง ไม่มีตำแหน่งสมณศักดิ์ใดๆทั้งสิ้น หลวงปู่เกิดเมื่อวันอาทิตย์ เดือนแปด ปีมะแม พ.ศ.2438 โยมบิดาชื่อก๊วน โยมมารดาชื่อเล็ก นามสกุลเดิม บำรุงกิจ สถานที่เกิด ตำบลกระจิว อ.อุทัย จ.อยุธยา มีพี่น้อง6คน ชาย3หญิง3 หลวงปู่สีเป็นคนโตสุด

เมื่ออายุได้12ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ.วัดราษฎร์บูรณะ (วัดเลียบ)กทม. ได้ศึกษาวิชาภาษาไทยและมูลกัจจายน์ โดยมีพระอาจารย์โปร่ง และพระอาจารย์ยัง เป็นผู้สอน สามเณรสี มีความขยันขันแข็งเอาใจใส่การศึกษาเล่าเรียนด้วยความตั้งใจ จึงเป็นที่รักใคร่ของอาจารย์ผู้สอน จวบจนอายุครบบวชเป็นพระภิกษุ สามเณรสี จึงได้กลับมาบ้านเดิมของท่าน เข้ารับการอุปสมบท ณ.วัดสะแก โดยมีหลวงพ่อกลั่น ธรรมโชติ วัดพระญาติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อแด่ วัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อพุฒ วัดสะแก เป็นพระอานุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า พินทสุวัณณ

เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้จำพรรษาอยู่วัดสะแก มาโดยตลอด ในฐานะพระลูกวัดธรรมดารูปหนึ่ง จากพศ.2458 จนถึงพศ.2526 เป็นระยะเวลา66ปีเต็ม ในตอนบวชเป็นพระใหม่ๆนั้น หลวงปู่สีสนใจในด้านไสยศาสตร์ คาถาอาคม พุทธาคม เป็นอันมาก จึงได้เดินทางมาศึกษา เล่าเรียนวิชาการจาก หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ พระเกจิที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น นอกจากนี้หลวงพ่อกลั่นยังได้มอบตำราเวทย์มนตร์คาถาและยันต์ต่างๆ เป็นสมุดข่อยของเก่าโบราณ ทุกเล่มปิดทองลงชาดอย่างสวยงาม กล่าวว่าเป็นของวัดประดู่โรงธรรม ซึ่งได้รับตกทอดมาสมัยกรุงศรีอยุธยา

จากความรู้ความสามารถนี้เอง ท่านจึงได้ร่วมกับ อ.เฮง ไพรยวัลย์ ซึ่งเป็นฆราวาส ผู้แก่กล้าสามารถทางวิชาอาคม สร้างเหรียญพระพรหม สี่หน้า โดยอ.เฮง มีอายุแก่กว่าหลวงปู่สี 2-3ปี ถึงแก่กรรมเมื่อปี2503 เคยบวชเรียนมาแล้ว2ครั้ง ครั้งหลังได้บวชกับหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯเช่นกัน จึงถือได้ว่ามีอาจารย์ร่วมกัน
อาจารย์เฮง บวชเรียนมาแล้วก็ลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาส ตอนที่สร้างเหรียญพระพรหมกับหลวงปู่สีนั้น ก็ได้ลาสิกขาออกมาแล้วเช่นกัน แต่ได้มาอาศัยในเรือขนาดใหญ่ ผูกอยู่ริมตลิ่งในคลองหน้าวัดสะแก ในเรือก็มีอุปกรณืการสร้างเครื่องรางของขลังไว้ครับ หลวงปู่สียกย่องอาจารย์เฮงมากนับถือในความเก่งกล้าในทางไสยศาสตร์และเล่าว่า อาจารย์เฮงยังมีฝีมือทางด้านการวาดเขียน ดนตรีไทย และแม้แต่การทำอาหารก็มีฝีมือเป็นเลิศ

การสร้างเหรียญพระพรหม สี่หน้านั้น หลวงปู่เล่าว่า สร้างครั้งแรกเมื่อปี2480เศษ ตอนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยความคิดริเริ่มมาจากอาจารย์เฮง หลังจากนั้นก็มีการสร้างมงคลวัตถุอื่นเช่นแหวน ผ้าขอด ตะกรุด เหรียญ รูปเหมือน เป็นต้น ในการสร้างวัตถุมงคลแต่ละรุ่นนั้น หลวงปู่มิได้เป็นผู้ลงทุนเอง ในการสร้างวัตถุมงคลแต่ละครั้งจึงเป็นการสร้างโดยลูกศิษย์ลูกหาที่ไปขออนุญาติจากท่าน เมื่อได้รับอนุญาติแล้วก็สร้างไปถวายให้หลวงปู่ปลุกเสกหลวงปู่ก็จะเสกให้เป็นอย่างดี อย่างรอบคอบพิถีพิถันเป็นพิเศษ

การปลุกเสกวัตถุมงคล ของขลังทุกอย่างของหลวงปู่สี ท่านจะทำจนมั่นใจแล้วจึงบอกให้นำไปใช้ และที่พิเศษอย่างยิ่งก็คือ ของทุกอย่างทุกชิ้นของท่านต้องมีการลงเหล็กจาร ด้วยเสมอไป และเหล็กที่ใช้จารก็ต้องเป็นของที่ท่านได้ใช้อยู่เป็นประจำ ผู้ที่สร้างมงคลวัตถุของหลวงปู่จะรับของกลับไปส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งจะถวายให้หลวงปู่ไว้แจกแก่ผู้ต้องการ หลวงปู่สี มรณภาพ เมื่อ30 มกราคม 2526 ด้วยโรคชรา หลวงปู่จากไป ลูกศิษย์ต่างอาลัยกันทั่ว ต่อไปนี้จะไม่มีหลวงปู่ให้กราบกรานอีกแล้ว นอกจากพระเครื่องที่หลวงปู่ได้ปลุกเสกให้ลูกศิษย์ได้ใช้กัน.............
เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเมีย ณ บ้านดอนกลาง ตำบลกระจิว อำเภอภาชี พระนครศรีอยุธยา โยมบิดาชื่อ ‘ก้าน’ โยมมารดาชื่อ‘เล็ก’มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๖ คน ท่านเป็นบุตรคนโต

การศึกษา
เมื่อท่านอายุ ๘ ปี โยมบิดานำไปฝากให้เรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมที่วัดสุทัศน์ กรุงเทพ โดยอยู่ในความปกครองของพระเถระผู้ใหญ่ระดับเจ้าคุณ การศึกษาเบื้องต้น ท่านมีความเชี่ยวชาญในอักขระวิธีภาษาขอมเป็นอย่างดี

บรรพชา/อุปสมบท
ท่านอายุ ๑๔ ปี บรรพชาสามเณร ในระหว่างเป็นสามเณรนั้น ท่านได้ศึกษาทางคันถะธุระแผนกบาลี (เรียนมูลกัจจายนะ) จนสามารถแปลภาษาบาลีได้เชี่ยวชาญ ท่านครองเพศสามเณรจนอายุได้ ๒๓ ปี จึงกลับมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดสะแก โดยการแนะนำของญาติผู้ใหญ่ ท่านเข้าสู่พัทธสีมาวัดสะแกเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรงกับวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง โดยมีหลวงพ่อกลั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแด่ วัดสะแก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์พุฒิ วัดสะแก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ‘พินฺทสุวณฺโณ’ เมื่อท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว มิได้เรียนต่อทางปริยัติอีก ท่านหันมาศึกษาทางพุทธาคม โดยมีหลวงพ่ออุปัชฌาย์ ‘กลั่น’ วัดพระญาติการาม เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทให้ และยังเที่ยวศึกษากับเกจิอาจารย์อีกหลายที่เช่น ที่วัดประดู่ทรงธรรม พระนครศรีอยุธยา กระทั่งอาจารย์ที่เป็นคฤหัสถ์คนล่าสุดก็คือ อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ การเรียนพุทธาคมปฏิบัติได้เข้มแข็งมาก เรียนกระทั่งหมอยารักษาโรค เช่น โรคพยาธิ และเรียนหมอดูทำนายทายทักได้แม่นยำมากทีเดียว กระทั่งทางวัตถุมงคล ท่านเป็นพระอภิญญา ชาวบ้านและข้าราชการผู้ใหญ่ เช่น นายควง อภัยวงศ์ กับอธิบดีต่างๆ มาเป็นลูกศิษย์ จนถึงราชครูวามเทพมุนี ซึ่งได้มาขอเรียนต่อกับท่าน ท่านได้สร้างวัตถุมงคลล้วนแต่ศักดิ์สิทธิ์ทุกอย่างเช่น รูปท้าวมหาพรหม พรหมสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ปิดตา พระพิมพ์ และรูปเหมือนต่างๆ เป็นต้น ท่านเป็นพระสุปฏิปัณโณรูปหนึ่งที่สามารถรู้กาลข้างหน้า ในชีวิตเป็นสมณเพศ ท่านไม่ค่อยอาพาธบ่อยนัก มีอาพาธหนักอยู่ครั้งหนึ่งเมื่ออายุ ๘๔ ปี ถึงวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลาจวนจะรุ่งอรุโณทัย ท่านอาพาธหนักด้วยโรคลม แม้บรรดาศิษย์จะพยายามเยียวยารักษาเป็นอย่างดี อาการโรคของท่านไม่ดีขึ้นเลย และในที่สุด วาระสุดท้ายของท่านก็มาถึง คือวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลา ๖.๐๕ น. ก็ถึงกาลมรณภาพ ด้วยการนั่งเข้าที่สมาธิ ณ กุฏิของท่าน สิริรวมอายุได้ ๘๘ ปี พรรษา ๖๕ พรรษา

วัดสะแก ได้รับการพัฒนา ปรับปรุง และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมาโดยลำดับ เพราะมีคณาจารย์ที่มีความสามารถหลายท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงปู่ใหญ่ ติณณสุวัณโณ ท่านมีความสามารถในการปกครองและการบริหาร จะเห็นได้ว่า ในช่วงเวลาที่ท่านปกครองวัดสะแกในฐานะเจ้าอาวาส ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๕๒๕ นั้น ท่านได้พัฒนา ปรับปรุง ซ่อมแซม และดำเนินการก่อสร้างอาคาร ศาสนสถานต่างๆ ของวัดไว้อย่างมากมาย อีกทั้งท่านเป็นผู้ที่ดำริให้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลของวัดสะแก อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยท่านได้มอบหมายให้ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในปีดังกล่าว วัดสะแก ได้จัดสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลเนื้อผงพุทธคุณและเนื้อดินเผามากมายหลาย แบบพิมพ์ ส่วน หลวงปู่ศรี (สีห์) พินทสุวัณโณ นั้น ท่านเป็นคณาจารย์ที่เป็นที่ยอมรับกันในด้านพุทธาคม หมอยารักษาโรค หมอดูทำนายทายทักที่รู้กาลล่วงหน้าจนเป็นที่ยอมรับของลูกศิษย์ อย่างมากมาย ด้านวัตถุมงคลที่ท่านสร้างขึ้นนั้น บรรดาลูกศิษย์ได้ประจักษ์และยอมรับถึงพุทธานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์ และ หลวงปู่ดู่ ท่านได้มีโอกาสร่วมกับหลวงปู่ศรี จัดสร้างวัตถุมงคลของวัดสะแกหลายวาระ อีกทั้ง หลวงปู่ดู่ ยังได้นำแบบพิมพ์พระ โดยเฉพาะพิมพ์ที่เป็นรูปพระพรหมแบบต่างๆ ของหลวงปู่ศรีมาจัดสร้างเป็นวัตถุมงคลของท่านไว้มากมายเช่นกัน จะเห็นว่า คณาจารย์ทั้งสองท่าน มีความสำคัญต่อวัดสะแกและมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ดังที่กล่าวมาแต่ต้น

<<< เครดิตข้อมูลจาก ;http://www.wadsakae.com/ , คุณโย วัดสะแก , คุณธน , คุณสามตา ทางร้าน ขอขอบพระคุณมาด้วย ณ ที่นี้ครับ >>>
๙๙๙
ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
085-8798569
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด