ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,188 ผู้ชมทั้งหมด :41,551,833 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :3,085

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
มีดสาริกา 3 กษัตริย์ หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว นครสวรรค์
ราคา :
มาใหม่
รายละเอียด :

@@@ มีดสาริกา 3 กษัตริย์ หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว นครสวรรค์ @@@

ลายเสมาใหญ่ ตอก นะ พะ

ขนาด 3.5 นิ้ว ที่เหน็บนาค มีจารยันต์ครูพระเจ้า5พระองค์

===========================

ประวัติหลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว-หนองกลับ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

หลวงพ่ออ๋อยนามเดิมท่านชื่อ อ๋อย พรมบุญ บิดาทานชื่อ พรม มารดาชื่อ พวง ท่านเกิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2442 ปีกุน หมู่ที่ 2 บ้านใหญ่ ต.หนองกลับ อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร (ขณะนี้โอนมาขึ้นกลับ อ. หนองบัว จ.นครสวรรค์ )

เมื่ออายุครบบวชท่านได้อุปสมบท ณ วัดเขาพนมรอก อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ มีพระนิพันธ์ธรรมมาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการอู่ เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอธิการพรมเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ในวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2462

หลวงพ่ออ๋อยท่านเป็นพระเถระรุ่นราวคราวเดียวกันกับ หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์ และ หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว นครสวรรค์ หลวงพ่อสวาสดิ์ วัดห้วยร่วม อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ เพียงแต่หลวงพ่ออ๋อย มีอาวุโสน้อยกว่า แต่ท่านชอบไปมาหาสู่กันเสมอๆ ถ้ามีงานด้านพุทธาภิเษก มักจะปลุกเสกร่วมกันเสมอ

*** ในสมัยที่หลวงพ่ออ๋อย ได้เป็นพระสมุห์อ๋อย ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์ แล้วท่านยังได้นิมนต์ หลวงพ่อเดิม มาสร้างศาลาการเปรียญที่วัดหนองบัวด้วยซึ่งก็แล้วเสร็จภายใน 1 ปี

หลวงพ่ออ๋อย ท่านเป็นพระเถระที่มีบารมีท่านหนึ่ง ประชาชนมักจะนำบุตรมาบวชเป็นศิษย์ของท่านปีละประมาณ 300 กว่ารูปทุกปี เป็นผู้ที่มีความจำเป็นเลิศทั้งเป็นผู้ที่มีอารมณ์ยิ้มแย้มอยู่เสมอ ชอบเล่าเรื่องขบขันและยังชอบเล่านิทานพื้นบ้านอีกด้วย...

หลวงพ่ออ๋อยท่านจึงเป็นมิ่งขวัญของชาวหนองบัวโดยแท้ และสิ่งที่ชาวบ้านนิยมที่สุดคือ วัตถุมงคลของหลวงพ่ออ๋อย ที่ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชามาจาก หลวงพ่อเดิม ที่ประชาชนนิยมกันมากก็จะเป็น มีดด้ามงาท่านสร้างปีละประมาณ 250 เล่ม ตั้งแต่ปี 2500 เป็นต้นมา

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
085-8798569
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด