ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,188 ผู้ชมทั้งหมด :41,555,699 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :1,185

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ตะกรุด 3ห่วงหลวงพ่อเต๋ วัดสามงาม จ.นครปฐม ยาว3นิ้ว
ราคา :
มาใหม่
รายละเอียด :

 

การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเต๋ ท่านจะสร้างไว้หลายแบบหลายชนิดมีทั้งพระเครื่อง และเครื่องรางของขลังเช่น พิรอดแขน ตะกรุดพิรอด ตะกรุดสามห่วง ตะกรุดหน้าผากเสือ ผ้ายันต์ชนิดต่างๆ ปลาตะเพียนเงิน-ทอง ตะกรุดโทน ตะกรุดสาลิกา ตะกรุดใบลาน สีผึ้ง และกุมารทอง(กล่าวกันว่ามีตะกรุด5ห่วงด้วย) แต่ละอย่างล้วนมีอภินิหารเป็นที่ประ จักษ์และเล่าขานกันมาทุกวันนี้ วัตถุมงคลของท่านไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงามแต่เน้นเรื่องพุทธคุณ เพราะท่านตั้งใจสร้างเพื่อให้บูชาพกติดตัวป้องกันภัยต่างๆ ส่วนมากเป็นเนื้อ ดินผสมผงป่นว่าน เนื้อ ดินอาถรรพณ์ที่นำมาเป็นมวลสารนั้นได้แก่ ดิน7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้น ด้านหลังพระทุก พิมพ์จะประทับชื่อ หลวงพ่อเต๋ กดลึกลงเนื้อพระ ส่วนวัตถุมงคลที่สร้างชื่อเสียงให้ท่านจนทุกวันนี้คือ ตุ๊กตาทอง ( กุมารทอง) ตำราการสร้างได้จากหลวงลุงแดง นำดิน7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้นมา ปั้นแจกชาวบ้าน นำไปเพื่อคุ้มครอง การปลุกเสกนั้นหลวงพ่อเต๋ จะปั้นแล้วเอาวางนอนไว้แล้วทำการ ปลุกเสกให้ลุกขึ้นมาเองตามตำรา ผู้ที่ได้รับไปบูชามักจะมีเรื่องเล่าสู่กันฟังเป็นมี่อัศจรรย์ทางต่างๆ หลวงพ่อเต๋ คงทอง มรณะภาพลงโดยอาการสงบเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2524 รวมสิริอายุได้ 90 ปี 6 เดือน 10วัน พรรษาที่ 59 ปัจจุบันทางวัดเก็บรักษาสังขารท่านไว้ให้ลูกศิษย์ลูกหารวมทั้งผู้เคารพศรัทธาไปกราบ ไหว้จนทุกวันนี้

 

ส่วนตะกรุดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจะเป็นตะกรุดสามห่วงครับ การสร้างตะกรุดหลวงพ่อเต๋ จะแบ่งแยกเป็น 2ประเภท
ประเภทแรก เป็นตะกรุดที่ไม่ได้ถัก เป็นตะกรุดโทน ใช้แขวนเอว รูดตะกรุดมาไว้ที่ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้างซ้าย และขวาได้ จะเรียกกันว่า ตะกรุดมหารูด ยุคแรกๆ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2480 จะสร้างด้วย ตะกั่ว ตีแผ่เป็นแผ่นแล้วให้หลวงพ่อเต๋ลงยันต์ ปลุกเสก แล้วม้วนเป็นตะกรุด ประมาณ 4 - 5 ชั้น หลังจากนั้นก็จะมีการสร้างด้วย อลูมีเนียมบ้าง เงินบ้าง ทองแดงบ้าง ขึ้นอยู่กับวัสดุของผู้ที่ต้องการ นำมาให้หลวงพ่อสร้าง


ประเภทที่สอง หลังจากปี พ.ศ. 2485 เป็นตะกรุดที่ใช้ กระดาษ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ถุงปูนซีเมนต์ แล้วลงยันต์ หลังจากนั้นนำมาม้วนด้วย ก้านตาล ก่อนนำไปให้หลวงพ่อเต๋ปลุกเสก แล้วจึงนำมาถักด้วยเชือกกระสอบอีกทีนึง เป็นสามหู เรียกกันว่า ตะกรุดสามหู หูเป็นลวด เป็นทองแดง แล้วก็เป็นสายไฟ ตามลำดับ มีการทายางไม้บ้าง ทารักแดง รักดำบ้าง แล้วแต่จะหาได้ตามกาลเวลา ในยุคสุดท้ายจะใช้ถักด้วยเชือกไนล่อน นอกจากกระดาษแล้วก็ยังมีการใช้ หนังหน้าผากเสือ และ หนังเสือ ด้วย แต่น้อยมาก ในยุค ระหว่างปี พ.ศ. 2518 - 2520 ได้มีการใช้ ผ้าแดง และผ้าขาว ปั๊มยันต์ แทนกระดาษ หลังจากนั้นก็มาถักเชือกสามหูอีกครั้งนึง ตะกรุดผ้าแดง นี้ส่วนใหญ่จะไปตกอยู่ที่วัดกาหลง เนื่องจากหลวงพ่อเต๋ ถวายไปให้วัดกาหลง ในสมัยที่หลวงพ่อสุด ยังเป็นเจ้าอาวาส และตะกรุดผ้าแดงนี้ เล่าว่า ตี๋ใหญ่ใช้ติดตัวด้วย ในยุคสุดท้ายของหลวงพ่อเต๋ ใช้แผ่นอลูมีเนียม ตัดเป็นชายธงปั๊มยันต์ ม้วนเป็นตะกรุดแล้วถักด้วยเชือกอีกทีนึง

ตะกรุด หลวงพ่อเต๋ ยุคก่อนคนที่ได้ไป จะต้องลองยิงก่อน ที่แถวหลังวัด เมื่อแน่ใจแล้วจึงนำไปแขวน ดังนั้นตะกรุดหลวงพ่อเต๋ ไม่ว่าจะเป็นยุคไหน แบบไหน ใช้ได้ทั้งนั้นครับสุดยอด ตะกรุดสามห่วงท่านนั้น มีประสบการมากมายนัก จนทำให้ท่านมีเชื่อเสียงโด่งดังมาก และท่านนั้นก็เป็นเจ้าตำหรับตะกรุดสามห่วง พุทธคุณเด่นทางด้าน มหาอุต คงกระพันชาตรี แคล้วคลาดปลอดภัย กันคุณไสย กันภูตผีปีศาจ และ เมตตามหานิยม ต้องพูดได้ว่าดีทุกๆด้านครับ ตามตำราการใช้ตะกรุดของท่าน ที่สือทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนั้นดังนี้.............. ( คาถาปลุกตะกรุด 3 ห่วง ) ตั้ง นะโม 3 จบ อุทธัง อัทโธ ปัดนะ นะโมพุทธายะ นะแคล้ว โมคลาด พุทธปัด ธาปิด ยะมิถูก นะสันตะรันโตผิด โสอิกะวิติภา

วิธีการใช้ตะกรุด เป็นมหารูด 1.เวลาสู้ ให้รูดตะกรุดไว้ด้านหน้า 2.เวลาหนี ให้รูดตะกรุดอยู่ด้านหลัง 3.ใช้เป็นเมตตาหาผู้หญิง ให้รูดตะกรุดอยู่ข้างซ้าย 4.ใช้เป็นเมตตาหาเจ้านาย ให้รูดตะกรุดอยู่ข้างขวา

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
087-5655468
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด