ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,188 ผู้ชมทั้งหมด :41,551,833 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :2,734

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ตะกรุดจันทร์เพ็ญ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ราคา :
โทรถาม
รายละเอียด :

 ตะกรุดหลวงปู่ศุข (พระครูวิมลคุณากร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ตามประวัติท่านจะทำตะกรุดใต้น้ำ ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของทุกปี หากปีไหนตรงกับ วันเสาร์ ยิ่งดียิ่งแกร่ง เพราะเป็นวันแข็ง โดยท่านจะใช้หลักไม้ไผ่ปักลงในน้ำ กระบอกไม้ไผ่ด้านบนปักธูปจนเต็มกระบอก ลงไปจารตะกรุดในแม่น้ำหน้าวัด และที่หนองท่าเรือทอง ใกล้กับวัดของท่าน เมื่อท่านจารเสร็จแล้ว จะปล่อยตะกรุดให้ลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ตะกรุดดอกไหนไม่ลอยขึ้นมา เป็นอันใช้ไม่ได้ หม่อมเจ้าหญิง เริงจิตรแจรง พระธิดาของเสด็จในกรมหลวงชุมพรฯได้เคยตามเสด็จไปที่วัดปากคลองหลายครั้ง พระองค์ทรงเห็นหลวงปู่ศุขทำตะกรุดใต้น้ำนี้ด้วยตา(พระเนตร) พระองค์ทรงเล่าว่า”เห็นหลวงปู่ท่านลงไปในน้ำนานมาก คนธรรมดาทั้วไปคงตายไปแล้ว จนรู้สึกเป็นห่วงท่าน และในสมัยนั้นมีจรเข้ชุกชุมมากแต่ หลวงปู่ท่านก็ไม่กลัวจระเข้เลย””,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,, ขั้นตอนการทำแผ่นตะกรุดของหลวงปู่ศุข นับเป็นตำราที่แปลกไม่เหมือนใคร กล่าวคือ ขั้นแรก ต้องเคี่ยวตะกั่วนมกับปรอท ในกระเพาะควายเผือก เป็นเวลาถึง ๗ วัน ๗ คืน ที่ใต้ถุนกุฏิของท่าน โดยท่านจะควบคุมการเคี่ยวตะกั่วด้วยตัวท่านเองเสมอ ถึงกับบางครั้งท่านลงมือเคี่ยวตะกั่วด้วยตัวเองก็มีอยู่บ่อยๆ เสร็จแล้ว ท่านจะนำตะกั่วเหลวนั้นมาเทลงบนสมุดข่อย เมื่อตะกั่วเย็นตัวลงแล้ว ก็จะนำไปตีแผ่ออก แล้วตัดตามขนาดที่ต้องการ เช่น ๑ นิ้ว ๑.๕ นิ้ว ๒ นิ้ว ๒.๕ นิ้ว ๓ นิ้ว ๔ นิ้ว จนถึง ๖ นิ้ว (ที่ยาวกว่านี้ก็อาจจะมี) ขั้นตอนต่อไป คือ เตรียมพร้อมสำหรับการลงจารอักขระบนแผ่นตะกั่ว เพื่อทำตะกรุด โดยการดำไปลงจารใต้น้ำดังกล่าว จึงนับได้ว่า ตะกรุดหลวงปู่ศุข เป็นตำราที่ยากจะหาพระเกจิอาจารย์ท่านใดมาเสมอเหมือนได้ จึงไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมทุกวันนี้ ตะกรุดของท่าน (ตัวจริงๆ) จึงหายากและมีราคา ตะกรุดของท่านมีอายุการสร้างเกือบ ๑๐๐ ปี นับว่าเป็นตะกรุดที่มีความเก่ามาก,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,, คาถาอาราธนาพระเครื่อง และตะกรุดหลวงปู่ศุข : ตั้งนะโม ๓ จบ : อิติอะระหังสุคะโต เกสโรนามะเต ประสิทธิเม อิหิอะโห นะโมพุทธายะ คาถาหลวงปู่ศุข : สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทธโธภะคะวาติ มะอะอุ,,,,,,,,,,,ข้อมูลจากหนังสือชื่อ"”หลวงปู่ศุขกับกรมหลวงชุมพรฯ””(เล่มเขียว)เขียนและเรียบเรียงโดยหม่อมราชวงศ์อภิเดช 

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
087-0206528
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด