ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,188 ผู้ชมทั้งหมด :41,555,699 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :6,370

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ผ้ายันต์พุทธสิหิงค์หลวงล้านนา สุดยอดแห่งพญาผ้ายันต์หรือจักรพรรดิ์แห่งผ้ายันต์ล้านนา
ราคา :
โชว์เครื่องราง
รายละเอียด :

"พญาผ้ายันต์แห่งล้านนา ที่ถือว่า เป็นที่สุดแห่งผ้ายันต์อันศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างได้ยากยิ่ง และ มีอาณุภาพปกป้องคุ้มครองให้ความเป็นสิริมงคลอยู่เย็นเป็นสุขแก่เหล่าบุคคลที่สักการะบูชาทั้งเรือน"

ผ้ายันต์นี้มีนามว่า ++ผ้ายันต์พุทธสิหิงค์หลวงล้านนา สุดยอดแห่งพญาผ้ายันต์หรือจักรพรรดิ์แห่งผ้ายันต์ล้านนา++

พ่อครูศรีเลา เกษพรหม (๒๕๔๒)กล่าวถึงผ้ายันต์สิหิงค์หลวงว่า เป็นงานศิลปะจากความเชื่อ มีเอกสารการสร้างกำกับอย่างละเอียด แต่เดิมนั้น ชนล้านนาไม่นิยมนำพระพุทธรูปเข้าบ้าน สิ่งที่จำหมายแทนพระพุทธรูปคือ รูปแต้มพระพุทธสิหิงค์บนผืนผ้า พร้อมพุทธสาวก พระอรหันต์ ทิพย์เทพเทวา และเหล่าสัตว์วิเศษนานา ลงอักขระอันเกี่ยวข้องกำกับอย่างแม่นยำ
กล่าวถึงผู้สร้าง นอกจากจะเป็นมหาสังฆะแล้ว ผู้คงแก่เรียนพ่อหนานปู่อาจารย์ หรือไม่ก็จิตรกรเอกร่วมกันตั้งใจรังสรรค์งานอันแสนสิริวิเศษอย่างพิถีพิถัน

นับตั้งแต่การเตรียมผ้า สาวฝ้าย ปั่น ฟั่น ทอ ด้วยมือนางพรหมจารีณ์จัดเตรียมทำสี การวาดรูป การลงอักขระ กิจกรรมทั้งหมดนั้นต้องลงในพระอุโบสถ กล่าวสำรับการเตรียมสี ต้องสอดคล้องในแต่ละวันพร้อมพิธีกรรมประกอบ ดังขอยกอย่างการเตรียมสี เป็นดังนี้

วันอาทิตย์ ให้บดชาดให้ละเอียด ในขณะที่บดให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก บดแล้วละลายน้ำผสมกับยางไม้สะเดา อย่าให้เหลวหรือข้นเกินไป ตั้งไว้ในที่อันควร จัดหาดอกไม้แดงธูปเทียนบูชาสีนั้น ส่วนวันอื่นๆ เป็นไปตามนี้

วันจันทร์ บดหรดาล.. ตอนบดให้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก บูชาด้วยดอกไม้สีเหลือง

วันอังคาร บดหมึกสีดำ.. หันหน้าไปทางทิศเหนือ บูชาด้วยดอกไม้สีดำ

วันพุธ บดดินกี่... หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ บูชาด้วยดอกไม้สีขาว

วันพฤหัสฯ บดยอดใบตอง... จะได้สีเขียว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บูชาด้วยดอกไม้สีเขียว

วันศุกร์ บดห้อมได้สีน้ำเงิน.. หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บูชาด้วยดอกไม้สีเหลือง

วันเสาร์ บดครั่ง.. หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บูชาด้วยดอกไม้สีแดงก่ำ

จากนั้นต้องหาฤกษ์งามยามดีก่อนลงมือเขียน ผู้สร้างต้องชำระร่างกาย ชำระจิตใจให้สะอาด เมื่อจะแต้มเรื่องใดต้องให้สอดคล้องกัน ๓ อย่าง คือ ตำแหน่งบนผืนผ้า วันและยาม และรูปภาพที่ปรากฏ ซึ่งแต่ละภาพ ต้องแม่นพระคาถาที่ลงตามช่องนั้นๆ

ความที่ผ้ายันต์พระสิหิงค์สร้างยาก คือละเอียดยิบย่อย ผืนใหญ่ มีขนบการสร้าง ทำให้ขั้นตอนการปลุกเสกซับซ้อนตาม รวมทั้งเครื่องประกอบพิธี ไม่มากไม่น้อยกว่าการสร้างพระพุทธรูปด้วยโลหะ กล่าวถึงประโยชน์ช่องใช้หรือฤทธีของผ้ายันต์ เชื่อกันว้าใช้ได้พันช่อง คือ เป็นคุณใหญ่หลวงในทุกๆ ด้าน

ผ้ายันต์พระสิงค์เท่าที่พบมีหลากหลายสล่าช่าง และมาจากหลายแหล่ง เช่น ลงอักขระอย่างไทใหญ่ อย่างพม่า มีทั้งเขียนใหม่และเป็นของโบราณ แต่ส่วนมากของโบราณจะลงอักขระและภาพประกอบเป็นอักษรล้านนาของกลุ่มไทยวน บางผืนงดงามวิจิตร บางผืนก็เรียบง่ายไม่ลงสี และส่วนมากอีกเช่นกัน คนจากต่างวัฒนธรรมเป็นผู้ครอบครอง (ด้วยราคาสูง)
จากการศึกษาเรื่องผ้ายันต์พระสิงห์ในเมืองแพร่ ของพุทธิคุณ ก่อกอง นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สัมภาษณ์, ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗) ได้กล่าวถึงเรื่องแต้มรูปและลงอักขระอย่างโบราณว่า ขั้นแรก

ลงรูปพระพุทธใจกลางวงกลมบนแผ่นผ้า เป็นวงที่ ๑ ต่อมา ลงอักขระวงที่ ๒ และวงที่ ๓ วงที่ ๔ ลงรูปพระพุทธสาวก พระอรหันต์ วงที่ ๕ ลงอักขระ วงที่ ๖ รูปสัตว์ต่างๆ อย่างช้าง ม้า สิงห์ และเหล่าอารักษ์พิทักษ์รักษา วงที่ ๗ สุดท้าย เป็นอักขระ และบางผืนจะลงท้าวทั้ง ๔ หรือลงตารางยันต์ ๔ มุมของผืนผ้า ทั้งนี้ จำนวนวงกลมและรูปแบบแต้มต่างๆ อาจแผกกันบ้างตามแต่ละสกุลช่าง

กล่าวสำหรับการศึกษาครั้งนี่ที่เมืองแพร่ พบผ้ายันต์จำนวน ๑๗ ผืน ฝีมือช่างแต้มเดียวกัน ๙ ผืน ในจำนวน ๙ ผืน

ผ้ายันต์สิหิงค์หลวงอีกสำนักหนึ่ง เป็นของครูบาคันธา คนฺธาโร วัดทาขุมเงิน (มรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๔) จากการสัมภาษณ์พระอธิการกิตติ กิตติโสภโณ เจ้าอาวาสวัด ท่านเล่าว่า ผ้านัยต์สิหิงค์หลวงของครูบาคันธา พบหลายผืน ส่วนมากจะอยู่ในเขตอำเภอบ้านโฮ่ง ลำพูน เล่ากันว่าท่านสร้างขึ้นตอนสงครามโลกครั้งที่ ๒ เพื่อแจกจ่ายไว้คุ้มเหย้าเฝ้าเรือน มีพ่อหนานสล่าช่างแต้มร่วมกันสร้าง บางท่านวาดรูป บางท่านลงสี ส่วนตัวครูบางลงอักขระสำคัญ ลักษณะคล้ายกันทั้งจำนวนวงกลมและสี มีแผกกันอยู่บ้างบางผืน ฤทธีเด่นที่แคล้วคลาดจากอันตราย ชาวบ้านว่า ฝนตกน้ำนองลมหลวง ชาวบ้านจำนำผ้ายันต์มาขึงเพื่อดับทุกข์ร้อนเข็ญ อารธนาคุณวิเศษแก้วิกฤตนานา ครั้นเมื่อต้องเดินทางค้างแรมในป่าก็ให้ขึงเป็นฝ้าเพดาน ภัยร้ายจะไม่มาใกล้ ผืนสำคัญที่ครูบาคันธาใช้ท่านจะทบทับซ้อนสอดในผ้าสังฆาฏิ มีเรื่องเล่าประกอบ ดังนี้

ครั้งหนึ่ง เมื่อถึงตอนหน้ากฐิน ชาวบ้านทาขุมเงินจะถวายกฐินแบบ “หลอนทอน” คือ ถวายผ้ากฐินตอนค่ำ โดยทางวัดและเจ้าอาวาสไม่ทราบเรื่องมาก่อน ชาวบ้านจะยิงปืนเกิดเสียงดังให้พระภิกษุตกใจ ยิ่งตกใจมาเท่าใดก็จะยิ่งได้บุญมากเท่านั้น พอจะถวายฯ ปืนหลายกระบอกยิงไม่ออกเชื่อกันว่า ผ้ายันต์ผืนดังกหล่าวของครูบามีฤทธีทางมหาอุดอีกด้วย

นอกจากฤทธีดังที่เล่ามาแล้ว ผ้ายันต์ดังกล่าวยังแก้ไขทุกข์เข็ญได้ ๑๐๐๐ ช่อง (ทาง) เช่น เกิดอาเพศต่างๆ ในบ้านเมือง เข่น “ไม้หักโค่นทับที่ทับแดน แลน (ตัวเหี้ย) แล่นขึ้นเรือน งูเหลือมเลื้อยขึ้นชาน ช้างเถื่อนเข้าบ้าน ข้าวสารออกงอกเป็นใบ เห็ดขึ้นกลางเตาไฟ..” เหล่านี้ถือว่าเป็นเหตุบอกลางร้าย ต้องอาราธนาผ้ายันต์พระสิงค์มาดับเหตุนั้นๆ หรือจะเข้าเจ้าเข้านาย ค้าขายวายล่อง ป้องปักรักษา ให้อธิษฐานกับผ้ายันต์จะเกิดคุณอันใด กล่าวคือ แต่ละแง่ช่องใช้ก็มีคาถากำกับผ้ายันต์จะเกิดฤทธีเป็นอย่างๆ ไป

ในส่วนเมืองแพร่นั้น ผู้ศึกษาลงลึกเล่าว่าต้องเก็บรักษาผ้ายันต์ไวในถุงไถ้แล้วนำไปใส่หีบไว้ เพราะผ้ายันต์มีคุณมหาศาล จะเอาออกมาขึงใช้ต่อเมื่อเป็นงานใหญ่

ผ้ายันต์สิหิงค์หลวง หรือผ้ายันต์พระสิงห์สำหรับผู้เขียนแล้ว เป็นงานจิตรกรรมบนผืนผ้าของชาวล้านนาโบราณ ยิ่งใหญ่อัศจรรย์เป็นที่สุด ทั้งภาพที่ปรากฏและขนบการสร้าง รวมถึงความเชื่อศรัทธาผ่านงานศิลปะชั้นยอด น่าเสียดายที่ผืนงามๆ พลัดหลงไปจากถิ่น และความยิ่งใหญ่อีกลักษณะหนึ่ง คือ ในอดีต เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับชุมชน กับบ้านเมือง
ผ้ายันต์ผืนวิเศษนี้ จะแสดงบทบาทหลอมรวมพลังใจของผู้คน ให้ร่วมกันแก้ไขวิกฤตด้วยความเชื่อศรัทธา ด้วยสติ และปัญญา

ขอขอบพระคุณ บทความจากหนังสือ “คง เข้ม ข่าม ขลัง เครื่องรางล้านนา” ของท่านอาจารย์ของผม พ่อครู ผ.ศ.วิลักษณ์ ศรีป่าซาง มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
0894303877
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด