ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,183 ผู้ชมทั้งหมด :41,724,939 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :4,977

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
เบี้ยแก้ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
ราคา :
ขายแล้ว
รายละเอียด :
(เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว)
    
 
    เจ้าของเดิมเลี่ยมจับขอบทองแบบเปลือยๆมาเดิมครับ
 
“เบี้ยแก้” ของหลวงปู่บุญนั้นนับว่าเป็นของขลังที่มีกิตติคุณลือกะฉ่อน ในด้านประสบการณ์และอภินิหารมากอย่างหนึ่ง และดูเหมือนเป็นมงคลวัตถุที่มีผู้นำไปใช้มากที่สุดก็ ว่าได้ เพราะในยุคนั้น จะมีบรรดาชาวบ้านขอให้ท่านทำให้จำนวนไม่น้อย คนนครชัยศรีถ้าบ้านไหนมีลูกชาย ลูกสาวจำนวนเท่าใด ก็มักจะขอให้หลวงปู่ทำเบี้ยแก้ให้จำนวนเท่ากับบุตรที่มี เพื่อมอบให้ลูกหลานไว้ใช้ ทั้งนี้เพราะเชื่อมั่นในพุทธคุณเบี้ยแก้ ของหลวงปู่บุญมาก และเป็นมงคลวัตถุที่หวงแหนกันไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเม็ดยาวาสานาหรือยาจินดามณี ซึ่งเป็นยาช่วยชีวิต หากไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ให้กันง่าย ๆ ดังนั้น ผู้ที่แสวงหาจึงควรตระหนักไว้ในข้อนี้ด้วย มิใช่จะได้กันมาง่าย ๆ พึงระมัดระวัง เพราะของปลอม มีระบาดกลาดเกลื่อน
 
วิชาเบี้ยแก้ ของหลวงปู่บุญนั้น เป็นที่ไขว้เขวกันมาก บางคนเข้าใจกันว่า หลวงปู่บุญศึกษาจาก หลวงปู่รอด บางคนก็เข้าใจว่า หลวงปู่บุญและหลวงปู่รอด วัดนายโรงศึกษาจากหลวงปู่แขก ชีปะขาว นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่าว่าหลวงปู่บุญได้วิชาจากหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุซึ่งได้วิชาเบี้ยแก้จากพวกโจรที่มานอนใต้ถุนกุฏิของท่านได้ยิน พวกโจรคุยกันถึงอานุภาพของปรอทใส่ไว้ในเบี้ย ท่านจึงสนใจขอศึกษาวิชานี้ไว้จากพวกโจร แต่จากเรื่องเล่าลือหลายกระแสนี้ ก็นับว่ามีประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าได้มาก 
 
หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ อดีตเป็นเจ้าอาวาสรุ่นก่อนเก่าของวัดบางบำหรุ จากปากคำของ พระครูธรรมวิจารณ์ ( ชุ่ม ) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม บางกอกน้อยซึ่งเล่าความให้ฟัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ขณะอายุได้ ๙๗ ปี พรรษาได้ ๗๑ นั้นกล่าวว่า หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ เป็นพระที่มาจากนครชัยศรี หลวงปู่รอด วัดนายโรง เล่าให้ท่านฟังว่าได้ศึกษาวิชาเบี้ยแก้จากหลวงปู่แขกซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัด บางบำหรุ ขณะที่หลวงปู่แขกมาอยู่วัดบางบำหรุนั้น ท่านอยู่ในสมณเพศและท่านธุดงค์มาจากนครชัยศรี พื้นเพเดิมท่านเป็นชาวอยุธยา เป็นสหายกันกับพระปลัดปานวัดตุ๊กตา และพระปลัดทองวัดกลางบางแก้ว ส่วนท่านธุดงค์จะมาจากวัดตุ๊กตาหรือคงคาราม ( วัดกลางบางแก้ว ) นั้นไม่ทราบแน่ชัด ส่วนหลวงปู่บุญนั้นท่านพระครูธรรมวิจารณ์ ( ชุ่ม ) เล่าว่าวิชาการต่าง ๆ นั้น ได้ศึกษาจากทั้งพระปลัดปานวัดตุ๊กตาอันเป็นองค์อุปัชฌาย์ของท่าน และพระปลัดทองอันเป็นอาจารย์โดยตรงของท่านที่วัดกลางบางแก้ว
 
สำหรับหลวงปู่แขก ชีปะขาวนั้น พลเรือนตรี เสนาะสมิตะเกษตรริน ร.น. ได้ทราบจากนายห้อย ลูกชาย ตากัน ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ตากันผู้นี้เป็นผู้มีชื่อเสียงว่า มีวิชาอาคมเก่งกล้า เคยเป็นโจรสลัดแล้วภายหลังกลับตนเป็นคนดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ อ่าวตากัน พลเรือตรีเสนาะสมิตตะเกษตรริน ร.น. ได้เล่าให้พันเอก ( พิเศษ ) ประจญกิติประวัติฟังว่า นายห้อยซึ่งเป็นศิษย์ใกล้ชิดของหลวงพ่ออี๋เล่าว่า หลวงพ่ออี๋ท่านได้ศึกษาวิทยาทำปลัดขิกมาจากหลวงปู่แขก ซึ่งเป็นชีปะขาว ผู้เรืองวิทยาคุณมาก หลวงปู่แขก ไม่มีครอบครัวหรือถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นที่พำนักหลักแหล่ง คือเป็นอนาคารริกร่อนเร่พเนจรไปในที่ต่าง ๆ เรื่อย ๆ ไป ในลักษณะคล้ายคนร้อนวิชา เคยมาพักอยู่กับหลวงพ่ออี๋ที่วัดสัตหีบ ในสมัยที่หลวงพ่ออี๋ยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส นายห้อยได้เล่าคุณธรรมหลวงพ่ออี๋ที่เกี่ยวกับหลวงปู่แขก ประการหนึ่งว่า หลวงพ่ออี๋ปฏิบัติกับหลวงปู่แขกผู้เป็นอาจารย์ด้วยกตัญญูกตเวทีธรรมอันดี เป็นที่เลื่องลือกันมาจนทุกวันนี้ เช่น ท่านบิณฑบาตได้อาหารมาก็จะเอามาแบ่งให้หลวงปู่แขกรับประทานเสียก่อนทุกวัน
 
จากข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ พอจะอนุมานได้ว่า การศึกษาวิชาเบี้ยแก้ของหลวงปู่บุญนั้นมีข้อยุติที่ว่า ท่านได้ศึกษามากับพระปลัดทองและพระปลัดปานอาจารย์ ของท่านนั่นเองส่วนเบี้ยแก้ของปู่รอดวัดนายโรงนั้น หลวงปู่รอดท่านก็ได้ศึกษาจากหลวงปู่แขกวัดบางบำหรุ และวิชาเบี้ยแก้ทั้งของหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ พระปลัดทอง วัดกลางบางแก้ว พระปลัดปาน วัดตุ๊กตา นั้นย่อมจะเป็นวิชาที่เหมือนกัน ด้วยทั้งสามท่าน เป็นสหายกันมาก่อน หรืออาจเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันได้
 
ดังนั้น ลักษณะเบี้ยแก้ ตลอดจนกรรมวิธีการทำของหลวงปู่บุญ และหลวงปู่รอด จึงมีความเหมือนกันมากจนแทบจะแยกไม่ออก นอกจากดูลักษณะการถักหุ้มภายนอกเท่านั้นเอง
 
                (เครดิตข้อมูลจาก วัดกลางบางแก้ว)
เบอร์โทรศัพท์ :
0871914956
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด