ส่วนหัวแบบฟอร์มล็อคอิน

ส่วนท้ายแบบฟอร์มล็อคอิน
เครื่องรางมาตราฐานทั้งหมด
ส่วนหัวของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย

ร้านค้าทั้งหมด :253 สินค้าทั้งหมด :11,188 ผู้ชมทั้งหมด :41,555,699 ผู้ชมวันนี้ทั้งหมด :9,187

ส่วนท้ายของกรอบสถิติเว็บไซต์เครื่องรางไทย
ส่วนหัวของกรอบแบนเนอร์
ปฏิทินงานประกวด
ส่วนท้ายของกรอบแบนเนอร์
ส่วนหัวของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนท้ายของกรอบร้านค้าแนะนำ
ส่วนหัวของกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด
ชื่อเครื่องราง :
ตะกรุดไม้ครู หลวงปู่ภู วัดอินทร์ ทรงจุกน้ำปลา(นิยม) สวยเดิมๆ
ราคา :
โชว์
รายละเอียด :

 

ตะกรุดไม้ครู หลวงปู่ภู วัดอินทร์ ทรงจุกน้ำปลา (นิยมสุดๆ) ลงรักถักเชือกปิดทอง เก่าๆ มันส์ๆ ขนาดเล็กกระทัดรัดน่าใช้ หายากสุดๆ ขนาดยาว 3 เซนติเมตร ด้านหัวโต 2 เซนติเมตร สวยสมบูรณ์เดิมๆ เลี่ยมทองพร้อมนิมนต์ มาพร้อมฟิล์มเอ็กซเรย์

ไม่มีใครทำได้อย่างกู นามไม้ครู อยู่คู่วัดอินทร์

"ไม่มีใครทำได้อย่างกู" เป็นตะกรุดหนึ่งเดียวที่อัญเชิญลุกขเทวดามาสถิตย์ สามารถบนบานสารกล่าวได้ดั่งแก้วสารพัดนึก

1ใน9เครื่องราง ที่ควรหามาติดกาย

"หมาก ดีที่วัดหนัง

ถ้าเบี้ยขลังวัดนายโรง

ไม้ครูคู่วัดอินทร์

ส่วนมีดบินวัดหนองโพธิ์

พิสมรวัดพวงมาลัย

ครั่งเหลือร้ายวัดโตนดหลวง

ราหูคู่วัดศรีษะทอง

เเหวนอักขระต้องวัดหนองบัว

ลูกเเร่ที่วัดบางไผ่ ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน

ทุกสิ่งล้วนเป็นมงคล ทั่วทุกคนควรค้นหา ติดกายยามญาตตรา ภัยมิกล้ามาเเพ้วพาน"

.................. ส่วนผงพุทธคุณที่ใช้ในการอุดนั้นมีความเชื่อกันว่ามีผงของสมเด็จพระพุฒา จารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)อยู่ด้วย เหตุเพราะท่านเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดและได้ร่วมเดินธุดงค์รุกขมูลกับท่านเจ้า พระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตอยู่เป็นนิจ.....................

ไม้ครู
พระครูธรรมานุกูล (ภู จันทเกสโร) วัดอินทรวิหาร กทม.

กรรมวิธีสร้างไม้เท้าพ่อครูของลป.ภู วัดอินทรวิหาร

ในกระบวนวัตถุมงคลที่หลวงปู่ภูได้สร้างขึ้น เป็นของที่หายากมาก เพราะท่านสร้างน้อยมากส่วนมากจะแจกเฉพาะศิษย์ใกล้ชิดเท่านั้นเพราะกรรมวิธี การสร้างยากมาก ผู้สร้างจะต้องเป็นสมณะเท่านั้น จนท่านเคยพูดว่า"ไม่มีใครทำได้อย่างกู" วิชานี้คนที่มีบุญวาสนาเท่านั้นถึงจะเรียนสำเร็จ

ไม้ เท้าพ่อครูเป็นวัตถุอาถรรพณ์ ก่อนที่จะทำจะต้องหาไม้ไผ่สีสุก (บางตำราก็ว่าไม้รวกโขลงช้างข้าม) ที่เห็นว่าถูกฟ้าผ่าล้มและปลายทอดยาวไปทางทิศตะวันออกทั้งกอ และต้องนั่งเฝ้าดูภายใน ๓-๗ วัน ถ้ามีช้างโขลงมาพบก่อไผ่สีสุก แล้วกระโดดข้ามกอไผ่ไปทั้งโขลงถือว่าเป็นนิมิตมหามงคลจึงจะใช้ได้

ก่อน จะตัดต้องประกอบพิธีพลีกรรม บอกกล่าวเทพยดา พระอิศวรเจ้า เจ้าที่เจ้าทาง โดยขอตัดไม้ไผ่ลำที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันออก และตัดเอาส่วนปลายเพียง ๓ ปล้องเท่านั้น

ในตำราระบุไว้ว่า ไม้ไผ่ลำนี้เปรียบประดุจไม้ยันพระวรกายของท้าวเวสสุวรรณ เมื่อได้ไม้ไผ่มาแล้ว ท่านก็นำมาจิ้มบนศพที่กล้าแข็ง คือ ศพคนตาย วันเสาร์เผาวันอังคาร ให้ครบ ๗ ศพ จึงเป็นเสร็จพิธี ซึ่งตลอดระยะเวลาในการเดินธุดงค์ของท่านนานถึง ๓๐ ปี จึงทำได้สำเร็จ จากนั้นท่านก็จะนำไม้ท่อนนี้เก็บเอาไว้ มาผ่าให้เป็นแผ่นเล็กๆ เรียกว่า ตอกเตรียมใว้สำหรับลงพระนามที่ได้รับจากเบื้องบน

การทำพิธีลงพระนาม

หลวงปู่ท่านจะมองขึ้นไปบนท้องฟ้าครั้งละนานๆ บางครั้งก็ไม่นาน
เคย มีคนถามหลวงปู่ภูว่า หลวงปู่มองขึ้นฟ้าทำไม ท่านตอบว่ากูรอพระนามจากเบื้องบน เมื่อได้พระนามจากเบื้องบนมาเเล้ว ท่านก็จะทำการบรรจุไม้พระนามเข้าไปในไม้ที่เจาะเตรียมเอาไว้ บางอันอาจจะบรรจุกระดูกแร้งลงไปด้วย อุดด้วยชันโรงใต้ดิน (ขี้สูตรดินราบ) แล้วตอกด้วยลิ่มไม้ปิดเอาไว้ เเล้วลงอักขระทับอีกทีเป็นอันเสร็จพิธี

ส่วน มากไม้ที่จะทำไม้เท้าพ่อครูก็มีไม้รักซ้อน ไม้พยุง บางคนก็นำไม้ชนิดอื่นมาให้ท่านทำก็มี เมื่อได้ไม้มาแล้วก็เจาะรูเตรียมบรรจุไว้ ถ้าบรรจุด้านเดียวเรียกว่า “ไม้พ่อครู” ถ้าบรรจุสองด้านเรียกว่า “นิ้วเพชรพระอิศวร (ชี้ต้นตายปลายเป็น)”

กล่าวกันว่าถ้าใครอยากได้ไม้เท้าพ่อครูจะต้อง ขอท่านก่อนวันเสาร์ล่วงหน้าหนึ่งวัน ถ้าท่านรับปาก ในวันเสาร์ตอนเช้าผู้ที่มาขอจะต้องจัดเตรียมหัวหมู บายศรีปากชาม มะพร้าวอ่อนกล้วย ขนมต้มแดง ต้มขาว ใส่ถาดไปทำพิธี
แล้วเอาไม้ตะพดเจาะรูหัวท้าย หรือหัวเดียวก็ได้ไปถวายท่าน
ท่านก็จะประกอบพิธีบรรจุไม้เท้าพ่อครูพร้อมกับอุดด้วยชันนะโรงใต้ดิน และจักตอกนำมาลงอักขระบรรจุเข้าไปที่เจาะรูไว้

หลังจากที่หลวงปู่ทำไม้ครูเสร็จ ก็สุดเเท้เเต่ผู้ที่ได้จะนำเก็บรักษาอย่างไร........จะไปถักเชือก ถักลวด หรือ ไม่ถักอะไรเลย

ศิษย์ใกล้ชิดได้กล่าวว่า บางเสาร์จะมีหัวหมูเครื่องบายศรีถึง ๙ หัวด้วยกัน แสดงว่าวันนั้นท่านทำถึง ๙ อัน
การบรรจุไม้เท้า ถ้าข้างเดียวหรือสองข้างก็เรียกว่า ไม้เท้าพ่อครู
แต่มีบางท่านเรียก นิ้วชี้พระอิศวร หรือ ต้นตายปลายเป็น

เมื่อท่านกระทำให้ผู้ใดก็ตาม ท่านจะกำชับหนักหนา ห้ามเอาไปตีใครเป็นอันขาดเพราะจะทำให้ผู้ที่ถูกตีถึงกับเสียจริต (บ้า) รักษาไม่หาย
นอกจากจะโดนกลั่นแกล้งถึงกับน้ำตาเป็นสายเลือด หมายถึง สุดที่จะอดกลั้นได้

อิทธิฤทธิ์ของไม้เท้าพ่อครู บางท่านเชื่อว่าหลวงปู่ได้ประจุเทพ คือ เทวดาลงไว้ในไม้นั้น
ใช้ เฝ้าบ้านได้ และใช้ป้องกันตัวในเวลาคับขัน บูชาอยู่กับบ้านป้องกันโจรผู้ร้ายคุณไสย และภูตผี ปีศาจ ไม่กล้ากล้ำกรายมารบกวน พุทธคุณครอบจักรวาล

ตะกรุดไม้ครูของท่านสามารถบนได้
วิธี บน คือ ทุก วันเสาร์หรือวันอังคารให้นำเอาหมูนอนตอง (หมูสามชั้นต้มพอสุกวางบนใบตอง) วางเลยชายคาบ้านแล้วบนเอาเถิด เทวดาที่รักษาตัวตะกรุดก็จะออกมา
หากสำเร็จดังที่บนไว้ก็ขอให้ทำอย่างที่บนไว้ อุทิศส่วนกุศลให้กับหลวงปู่ภู ให้รุกขเทวดาที่รักษาตัวตะกรุด และผู้ร่วมสร้าง

คาถาปลุกไม้พ่อครู
โอม ปลุกปลุก ลุกลุก กูจะปลุกพ่อครู นิ้วเพชรพระอิศวร
กระบองยันกายท้าวเวสสุวรรณ ไม้โขลงช้างข้าม ปีศาจพ่อครู
โอม ปลุกมหาปลุก กูจะปลุกไม้เท้าพ่อครู หลวงปู่ภูประสิทธิ์ให้กูสวาหะ

คาถาบุชา
ให้ว่านะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่ภูแล้วท่องคาถาล้อม ว่าดังนี้
“ ฆะะเตสิ ฆะเตสิ กิงกะระณัง ฆะเตสิ อะหังปิตัง ชานามิ ชานามิ
สี่คนเดินหน้า ห้าคนเดินหลัง โอมกะรัง กะรัง ”

เมื่อนำติดตัวให้อาราธนาดังนี้

( 1 ) ตั้งนะโม 3 จบ เเล้วระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คุณบิดา มารดา ครูอาจารย์ เเละหลวงปู่ภู ให้มาคุ้มครองตน

( 2 ) หยิบไม้ครูขึ้นจบเหนือศรีษะ กล่าวว่า " นะ โม พุทธ ธา ยะ , ยะ ธา พุทธ โม นะ , สะ ธะ วิ ปิ ปะ สะ อุ , นะ โม พุทธ ธา ยะ , ยะ ธา พุทธ โม นะ "

( 3 ) สูบลมหายใจเข้าให้เต็มปอดเเล้วว่า " สัตถา เทวะมะนุสสานัง "

ในระหว่าง ที่นำไม้ครูติดตัวไปด้วยนั้น ถ้าต้องดื่มยาดอง ของมึนเมา ต้องเอายาดองมาลูบไม้ครู เป็นเคล็ดไม่มีมีเรื่องราว เพราะยาดองเป้นสิ่งที่ต้องห้าม

เมื่อกลับถึงบ้านเเล้ว วางไม้ครูให้เข้าที่ ให้หาน้ำมันหอม หรือเเป้งหอมมองเล่ยะ มาเจิมไม้พ่อครู เเล้วกล่าวว่า " พุทธ โธ ภะ คะ วา ติ " เป็นประจำ

ข้อห้ามของไม้ครู

( 1 ) ห้ามตีผู้อื่น เพราะจะทำให้คนนั้นติ๊งต๊อง ตัวเองเป็นบาปด้วยนะ

( 2 ) เวลาถือหรือห้อยติดตัว ให้เอา ด้านที่บรรจุไว้ขึ้นข้างบน ถ้าอุดสองข้างให้ถือเอาทางหนึ่งทางใดขึ้นก็ได้

( 3 ) ห้ามใช้ไม้ครูกระทุ้งดินเล่นเป็นอันขาด รวมทั้งกระทุ้งเสาบ้านด้วย

( 4 ) วางไม้พ่อครูไว้บนที่บูชาให้ต่ำกว่าพระ เเละอย่าวางเกะกะที่มีผู้คนเดิมข้ามไปมาหรือไว้ในที่ต่ำจะเป็นอวมงคลเเก่ผู้เป็นเจ้าของ

ชื่อร้าน :
เบอร์โทรศัพท์ :
0830352006,0819305519
จำนวนผู้ชมขณะนี้ :
1
ส่วนท้ายกรอบรายการเครื่องรางมาตราฐานล่าสุด